งานนี้มีเฮ!!! หลังจบพักชำระหนี้ 6 เดือน ถ้าใครยังไม่ไหว ติดต่อธนาคารได้เลย

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมีมติพักชำระหนี้ 6 เดือน เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ และทำให้ผู้พักชำระหนี้ ได้มีการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดีถึง 94 เปอร์เซ็น แต่ก็ยังมีลูกหนี้อีก 6 เปอร์เซ็นที่ยังคงต้องหาทางออก ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมีนโยบายให้พักชำระหนี้ต่อไปได้ โดยให้เวลาเจรจาถึงสิ้นปี 2563 และให้พักหนี้ต่อได้ในช่วงเจรจา ส่วนธุรกิจที่ไม่ไหวจริงๆ ให้พักหนี้ต่อได้อีก 6 เดือน ถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 2564 แต่ขอให้ปรากฏตัวคุยกัน

 

นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายเสถียรภาพระบบการเงินและยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการดำเนินการเพื่อรับมือการครบกำหนดมาตรการผ่อนผันให้ลูกหนี้เอสเอ็มอีที่ได้รับการพักหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 22 ต.ค.นี้ ว่า จากการสำรวจลูกหนี้เอสเอ็มอี ซึ่งเข้าข่ายที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ หรือเอสเอ็มอีที่มีสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท พบว่ามีลูกหนี้เอสเอ็มอีเข้าโครงการพักหนี้ทั้งสิ้น 1.05 ล้านบัญชี มูลหนี้รวม 1.35 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นลูกหนี้ในส่วนของสถาบันเฉพาะกิจของรัฐ 780,000 บัญชี วงเงิน 400,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐได้ออกมาตรการยืดหนี้ให้เพิ่มเติม 3-6 เดือนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ทำให้ไม่มีปัญหาในขณะนี้

 

ส่วนที่ ธปท.เป็นห่วง คือ ลูกหนี้จำนวน 6% ของลูกหนี้ 950,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นลูกหนี้ 16,000 บัญชี มูลหนี้รวม 57,000 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากกรณีการปิดกิจการชั่วคราว ย้ายสถานที่ หรือไม่กล้ารับโทรศัพท์เพราะกลัวถูกทวงหนี้ก็ตาม ซึ่ง ธปท.ขอให้ลูกหนี้ส่วนนี้ติดต่อกลับมาหาเจ้าหนี้เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้หรือเพื่อเจรจาหาทางแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้กลับมาชำระหนี้ได้ โดยให้เวลาในการเจรจากับเจ้าหนี้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 ธ.ค.63

 

ลูกหนี้ทั้ง 6% นั้น ไม่ได้หมายความว่าในที่สุดจะเป็นหนี้เอ็นพีแอลทั้งหมด แต่ลูกหนี้จะต้องประเมินตัวเองและยกมือขอความช่วยเหลือเข้ามาเจรจา ซึ่ง ธปท.ได้กำชับสถาบันการเงินแล้ว และสถาบันการเงินก็เข้าใจว่าการช่วยเหลือให้ลูกหนี้กลับมาชำระหนี้ได้ดีกว่าปล่อยให้เป็นเอ็นพีแอลแน่นอน ทั้งนี้ การที่ ธปท.เลือกที่ไม่ต่อมาตรการพักหนี้เป็นการทั่วไป แต่เปลี่ยนเป็นการเจรจาและพักหนี้แบบเฉพาะเจาะจงนั้น เนื่องจากมองว่าอาจจะส่งผลกระทบทางลบในระยะยาวใน 3 เรื่อง 1.ลูกหนี้ที่พักหนี้ต่อเนื่องอยู่จะยังคงมีภาระดอกเบี้ยในแต่ละเดือนตลอดช่วงการพักหนี้ ซึ่งเป็นภาระแก่ลูกหนี้ในระยะยาว 2.ทำให้เสียวินัยทางการเงิน 3.ส่งผลเสียต่อเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินเพราะการพักหนี้เป็นการทั่วไปเป็นระยะเวลานานคาดว่าจะทำให้สภาพคล่องในระบบจากการชำระคืนหนี้และดอกเบี้ยหายไปประมาณ 200,000 ล้านบาทต่อปี.