ทั่วโลกจับตาโควิดโอไมครอน ATK-PCR บางยี่ห้อไม่จับเชื้อ โมเดอร์นาเตรียมพัฒนาวัคซีนเข็มกระตุ้น

ทั่วโลกสั่งจับตา“โอไมครอน” (Omicron) โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเพิ่งถูกค้นพบและได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในวันที่ 26 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา “ศูนย์จีโนม” รพ.รามาธิบดี เตือน COVID-19 กลายพันธุ์ “โอมิครอน” ATK-PCR บางยี่ห้อไม่จับเชื้อกลายพันธุ์ บริษัท โมเดอร์นา ผู้พัฒนาวัคซีนโควิด-19 สัญชาติอเมริกัน ประกาศเตรียมพัฒนาวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อรับมือกับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลตัวล่าสุดของโลก

 

 

 

WHO ได้รับรายงานเรื่องไวรัส SARS-CoV-2: B.1.1.529 ครั้งแรกจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 64 โดยเป็นการยืนยันการติดเชื้อ B.1.1.529 ครั้งแรกจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน

 

 

โดยเบื้องต้น B.1.1.529 หรือ “โอไมครอน” มีการสะสมการกลายพันธุ์ที่น่าตกตะลึง และหลักฐานที่พบในเบื้องต้นมีข้อบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOC) อื่นๆ และปัจจุบันการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศแอฟริกาใต้

 

โดยไวรัสกลายพันธุ์ตัวนี้เป็นซุปเปอร์กลายพันธุ์ ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยพบ หวั่นแพร่ง่าย-หลบวัคซีน

 

 

วันนี้ (28 พ.ย.2564) เฟซบุ๊ก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล” โพสต์ข้อความว่า PCR ที่ใช้ตรวจไวรัสโคโรนา 2019 ยังสามารถตรวจจับสายพันธุ์ “โอมิครอน (B.1.1.529)” ได้หรือไม่

 

โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์แอฟริกาได้ “อัปโหลด” รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (whole genome sequence) ของไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนกว่า 115 ตัวอย่างขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” เป็นที่เรียบร้อย เพื่อให้นักวิจัยทั่วโลกได้นำไปศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การป้องกัน และรักษา

 

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้ดาวน์โหลดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ “โอมิครอน” ทั้ง 115 ตัวอย่างมาทดสอบด้วยวิธีชีวสารสนเทศกับตัวตรวจตาม (PCR primer) ของชุดตรวจ PCR ที่ทาง WHO ให้การรับรอง ผ่านโปรแกรม “Nextclade” (https://clades.nextstrain.org/) จากการวิเคราะห์ผลบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องยืนยันผลกับตัวอย่างเชื้อเป็นในห้องปฏิบัติการอีกครั้งหนึ่ง 

 

 

พบว่าทั้ง 115 ตัวอย่างมีแนวโน้มว่าอาจเกิดปัญหาไม่มากก็น้อยกับชุดตรวจ PCR บางยี่ห้อ ไม่ใช่ทุกยี่ห้อที่ WHO ให้รายชื่อไว้ คืออาจให้ผลบวกน้อยทั้งที่มีเชื้อจำนวนมาก หรือเกิดผลลบปลอมขึ้นได้ประเมินจากตัวตรวจตาม (PCR Primer) ของยี่ห้อดังกล่าว มีรหัสพันธุกรรมของตัวตรวจตาม (PCR Primer) ที่บ่งชี้ว่าอาจตรวจจับกับส่วนจีโนมของสายพันธุ์โอมิครอน ได้ไม่ดีหรือจับไม่ได้เลยเนื่องจากไวรัสมีการกลายพันธุ์ไปมาก

 

ดังนั้นศูนย์รับตรวจโควิด-PCR คงต้องระมัดระวังเลือกใช้ชุดตรวจ PCR ที่ผ่านการทดสอบว่าไม่มีปัญหาในการตรวจจับสายพันธุ์โอมิครอน

อย่างไรก็ตาม ชุดตรวจ PCR ที่ใช้ตรวจไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนใหญ่จะตรวจจีโนมของไวรัส 2-3 ตำแหน่งพร้อมกัน ไม่ได้ตรวจตำแหน่งเดียว หากพลาดไปบางตำแหน่ง ก็ยังมีตำแหน่งอื่นยืนยัน ทาง “WHO” เองก็สนับสนุนให้ปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส ให้สังเกตผลลบที่ขาดหายไปบางตำแหน่งบนยีน S ที่สร้างโปรตีนส่วนหนาม (S dropout) หากพบว่าขาดหายไปตรวจไม่พบ ให้สงสัยว่าอาจเป็นสายพันธุ์โอมิครอน

 

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

 

บริษัท โมเดอร์นา ผู้พัฒนาวัคซีนโควิด-19 สัญชาติอเมริกัน ประกาศเตรียมพัฒนาวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อรับมือกับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลตัวล่าสุดของโลก

 

 

 

ขอบคุณ ไทยรัฐ/thaipbs