หมอยง ย้ำอย่าเพิ่งตกใจ ถึงไวรัสจะกลายพันธ์ุ แต่ยังไม่อันตราย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาให้ความรู้เรื่องการกลายพันธุ์ของไวรัส ยังไม่ชี้ชัดว่ารุนแรง วัคซีนที่มีอยู่ยังใช้ได้ดีกับไวรัสกลายพันธุ์นั้นเอง

 

หมอยง' ย้ำโควิดยังไม่มีแนวทางรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่จำเพาะ  และได้ผลอย่างชัดเจน | สยามรัฐ

 

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่องโควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่อง โควิด-19 การแปรเปลี่ยนพันธุกรรม ข้อความระบุว่า

 

 

โควิด 19 การแปรเปลี่ยนพันธุกรรม
เราได้ยินข่าวมาตลอด เรื่องการผันแปรพันธุกรรมของไวรัสก่อโรค covid-19 ไม่ว่าจะเป็นใน อังกฤษแอฟริกาใต้ และ ไนจีเรีย
ไวรัสอาร์เอ็นเอเกือบทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามวิวัฒนาการอยู่แล้ว ได้ง่ายกว่า DNA ไวรัส
การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่ทุกคนมุ่งมองไปในส่วนที่เป็นหนามแหลม ยื่นออกมาเรียกว่า spike นั่นเอง
ในส่วนนี้ที่มีการพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญได้แก่
การเปลี่ยนแปลงจากกรดอะมิโนแอสพาราจีน เป็น ไทโรซีน ในตำแหน่งที่ 501 เพราะตำแหน่งนี้เป็นส่วนที่ไวรัส จะมายึดเกาะกับเซลล์ของมนุษย์ ในส่วนที่เรียกว่า ACE2 ถ้าเกาะได้ดี ก็จะติดเชื้อง่าย ถ้าเกาะไม่ดีก็จะติดเชื้อยากกว่า จึงให้ความสนใจ
ส่วนที่ 2 มีการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 69-70 ที่อาจจะทำให้รูปร่างของโปรตีนหนามแหลม เปลี่ยนรูปไป และ เกรงว่าไวรัสจะหลบหนีระบบภูมิต้านทาน หรือ วัคซีน
ส่วนที่ 3 คือการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนจาก โพรลีน ไปเป็น ฮีสติดีน ในตำแหน่ง ที่ 681 เกี่ยวข้องกับการที่หลังไวรัสเกาะติดกับเซลล์มนุษย์แล้ว จะต้องใช้ เอนไซม์ของมนุษย์ ในการตัด เพื่อให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้โดยหลักการ การเกาะติดกับกับเซลล์มนุษย์แล้ว ไวรัสจะเข้าเซลล์ ต้องมีเอนไซม์มาตัดปลดปล่อยการเกาะนั้น เหมือนกับว่าถ้าตัดได้ดีก็จะเข้าสู่เซลล์ได้ง่าย
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาถึงปัจจุบันเป็นเพียงสันนิษฐานทางวิทยาศาสตร์ จะต้องมีการศึกษาในแนวรุกต่อไป และข้อมูลในปัจจุบันไวรัส ที่พบกลายพันธุ์ ก็ยังสามารถจับได้ดีกับระบบภูมิต้านทาน และวัคซีนที่มีอยู่ หรือกล่าวว่า วัคซีนที่มีอยู่ยังใช้ได้ดีกับไวรัสกลายพันธุ์นั้นเอง
ส่วนการติดง่ายหรือยาก ก็ยังต้องการการศึกษาในแนวลึกต่อไป
และแน่นอนไวรัสที่กลายพันธุ์ออกไป ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าไวรัสนี้จะทำให้โรครุนแรงขึ้น หรือ น้อยลง
เพราะฉะนั้นในขณะนี้ยังไม่ต้องตกใจไปเกินเหตุ อย่างที่เป็นข่าวออกมา
 
 
 
 
 

ขอบคุณ FB: Yong Poovorawan