มูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคมแห่งนครควังจู สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ออกแถลงการให้หยุดคุกคามแกนนำม็อบ

มูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคมแห่งนครควังจู สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ออกแถลงการณ์เรียกร้องทางการไทย หยุดคุกคามนักกิจกรรมในเรือนจำ

 

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 มูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคมแห่งนครควังจู สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ออกแถลงการณ์เรียกร้องทางการไทย หยุดคุกคามนักกิจกรรมในเรือนจำ ความว่า มูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคม ขอเตือนทางรัฐบาลไทยว่า โลกกำลังจับตามองปฏิบัติการ อันน่าสงสัยของเจ้าหน้าที่ และรัฐบาลไทยในการความพยายามกระทำการ ต่อ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ผู้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2017 และ นายอานนท์ นำภา ผู้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2021 กับเพื่อนนักกิจกรรมของเขา ในคืนวันที่ 15 มีนาคม 2564

 

 

ทางเจ้าหน้าที่รัฐของไทยได้ใช้ความพยายามอันน่าสงสัยถึง 3 ครั้ง เพื่อจะนำเอาตัว นายจตุภัทร์และนายอานนท์กับพวกไปยังส่วนอื่นของเรือนจำ ในเวลากลางดึกจนถึงช่วงวันใหม่ และพวกเรามีความกังวลต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัย ของผู้ได้รับรางวัลทั้งสองกับเพื่อนนักกิจกรรมของเขาเป็นอย่างยิ่ง 

 

ดังนั้นทางมูลนิธิฯกับกลุ่มองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนนานาชาติ จะจับตาปฏิบัติการของรัฐบาลไทย ที่กระทำกับพวกเขาอย่างใกล้ชิด ในโอกาสนี้ ทางมูลนิธิขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวผู้ได้รับรางวัลของเรา และเพื่อนนักกิจกรรมของเขาในทันที 

 

ทั้งนี้มูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคม แห่งนครควังจู สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เป็นมูลนิธิที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกวีรชนและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้กับโลก  มูลนิธิเกิดขึ้นจากการรวมตัวของครอบครัววีรชนชาวควังจู ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหารเกาหลีใต้ในปี 1980 ซึ่งทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก และในระหว่างเรียกร้องความเป็นธรรมนั้น ก็มีผู้สละชีวิตประท้สวงรัฐบาลเกาหลีใต้ให้หันมาสนใจ และคืนความเป็นธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมื่อเกาหลีใต้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การเรียกร้องให้คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และคืนความเป็นธรรมให้กับวีรชนและครอบครัวผู้เสียชีวิต ชาวควังจูก็ได้เล็งเห็นความสำคัญในการรณรงค์ เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน จึงไ้ด้มอบรางวัลสิทธิมนุษยชนฯดังกล่าว แก่ผู้มีผลงานในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสันติภาพ ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมามูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคม ได้มอบรางวัลอันทรงเกียรตินี้แก่ ซานาน กุสเมา ปี 2000, อองซานซูจี ปี 2004 ในบทบาทยุคที่ถูกเผด็จการทหารกักตัว, สำหรับประเทศไทย ผู้ได้รับรางวัลนี้ได้แก่ นางอังคณา นีละไพจิตร ปี 2006, นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ปี 2017 และ นายอานนท์ นำภา ปี 2021

 

ม็อบ3นิ้วท้าทาย นัดใหม่อีก8มิ.ย.

 

 

ขอบคุณ ไทยรัฐ/มติชน