โควิด 19 กำลังจะกลายเป็น โรคประจำถิ่น 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป

1 กรกฎาคมนี้ โควิด-19 จะเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่น โดยกระทรวงสาธารณสุข เตรียมแผนดำเนินการไว้ 4 ระยะ ภายในเวลา 4 เดือน

 

 

ทางด้านคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ก็ได้เห็นชอบมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด-19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่น โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1 : ตั้งแต่ 12 มี.ค. – ต้น เม.ย. 2565 เรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง

 

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "1 ก.ค. 65 เปลี่ยน 'โควิด-19' เป็น 'โรคประtำถิ่น' 12 มี.ค.- ต้น เม.ย. เม.ย. -พ.ค. ปลาย พ.ค. 30 มิ.ย. แผน 3+1 (4 ระยะ) (Combatting) กดตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ให้สูง (Plateau) คงระดับผู้ติดเซื้อไม่ให้สูงขึ้น จนลดลงเรื่อยๆ (Declining) ลดผู้ติดเชื้อให้เหลือ 1,000 2,000 ราย อัตราเสียชีวิต 0.1 % (Post pandemic) เข้าสู่โรคประจำถิ่น ตั้งแต่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป"

 

ระยะที่ 2 : เม.ย. – พ.ค. 2565 เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ

 

ระยะที่ 3 : ปลาย พ.ค. – 30 มิ.ย. 2565 เรียกว่า Declining การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน

ระยะที่ 4 : 1 ก.ค. เป็นต้นไป เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ประชาชนฉีดวัคซีนเข็ม 3 มากเกิน 60%

 

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความพูดว่า "แผนดำเนินการทั้งหมด ต้องการให้เกิดภายใน 4 เดือน โดยต้องแก้กฎหมาย 9 ฉบับ ซึ่งต้องรอรายละเอียดต่างๆ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข"

 

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงแนวทางเตรียมพร้อมการรักษาโควิดสู่โรคประจำถิ่น ว่า จากข้อมูลผู้ติดเชื้อโอมิครอน พบว่า 80-90% ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถดูแลที่บ้านได้ ให้การรักษาตามอาการหรือตามแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญออกแบบไว้ จึงมีการปรับรูปแบบการดูแลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อขึ้นไปมากกว่านี้ก็ต้องมีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ทั้งนี้ หากมีอาการทางเดินหายใจหรือประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง เมื่อตรวจ ATK ด้วยตนเอง หากผลเป็นลบให้ปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT แต่หากผลเป็นบวก สามารถโทรศัพท์ไปที่สายด่วน สปสช. 1330 ประเมินภาวะเสี่ยง หรือไปรับบริการที่คลินิกทางเดินหายใจ (ARI Clinic) หรือคลินิกสงสัยผู้ติดเชื้อ (PUI) ที่มีในทุกโรงพยาบาล หรือโทรติดต่อโรงพยาบาลที่มีสิทธิ์การรักษาเพื่อประเมิน หากมีภาวะเสี่ยง คือ เป็นกลุ่ม 608 มีโรคประจำตัว แต่อาการไม่มาก จะให้เข้าระบบ Home Isolation, Community Isolation, Hotel Isolation และ Hospitel แต่หากมีภาวะเสี่ยงและอาการรุนแรงจะส่งไปรับการรักษาในโรงพยาบาล

 

ส่วนกลุ่มที่ไม่มีภาวะเสี่ยง สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวเองที่บ้าน ซึ่งคล้ายกับการรักษาระบบ Home Isolation คือ มีการแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ โทรศัพท์ติดตามอาการ แต่เนื่องจากไม่มีความเสี่ยง จึงไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมินและอาหารให้ และจะโทรติดตามอาการครั้งเดียวเมื่อครบ 48 ชั่วโมง ขณะที่ในส่วนของ HI จะโทรติดตามทุกวัน และมีอุปกรณ์ตรวจประเมินให้ เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด รวมถึงอาหาร แต่ทุกรูปแบบจะมีช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อกลับได้ตลอดเวลา และมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง

 

 

“ถ้าเราสามารถนำผู้ป่วยสีเขียวทำ Home Isolation, Community Isolation หรือ OPD (ผู้ป่วยนอก) ในรายที่ไม่มีความเสี่ยง เราจะสามารถเก็บเตียงเหล่านี้เอาไว้ให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ที่สมควรต้องนอนโรงพยาบาลได้ ยืนยันว่าจำนวนเตียงดูภาพรวมแล้วยังพอไปได้ แต่จะมีปัญหาในเตียงระดับ 1 พอสมควร ถ้ามีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเตียงเหล่านี้จะรับผู้ป่วยได้อีกมาก ส่วนการขยายเตียง ถ้าจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้โอมิครอนจะไม่รุนแรง แต่จำนวนรวมมากขึ้น อาการรุนแรงก็จะมากไปด้วยเป็นเงาตามตัว โดนมีการทำหนังสือถึงทุกเครือข่ายว่าขอให้ลดจำนวนเตียง Non-COVID ลงประมาณ 15-20% พร้อมทั้งใช้บุคลากรในส่วนนั้นมาช่วยดูแลโควิดเพื่อเป็นการเตรียมเตียง แต่ต้องยอมรับเมื่อเราลดบริการส่วนหนึ่งผู้ป่วยที่เป็น Non-COVID ก็จะเสียโอกาสไป เราก็ต้องปรับให้เหมาะสมกับช่วงเวลา หากจำนวนการครองเตียงระดับ 2-3 ขึ้นมา 50-60% ก็อาจจะต้องเตรียมขยายเตียงแล้ว นี่คือสิ่งที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของการระบาด”

 

นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ กล่าวว่า แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีการปรับปรุงมาเป็นระยะตามข้อมูลทางวิชาการที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 แบ่งการรักษาผู้ติดเชื้อเข้าข่ายที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวก 4 กลุ่ม คือ

 

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากๆ กลุ่มนี้จะหายเองได้ ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกโดยแยกกักตัวที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อลดความเสี่ยงรับผลข้างเคียงจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และกระทบต่อตัวอ่อนในครรภ์

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/ไม่มีโรคร่วมสำคัญ แพทย์จะพิจารณาว่าจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ หากกำลังใช้ฟ้าทะลายโจรจะต้องหยุดฟ้าทะลายโจรก่อน

 
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ

4. ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงมาก สองกลุ่มนี้แพทย์จะพิจารณารับการรักษาในโรงพยาบาล และพิจารณาให้ยารักษาที่มียาชนิดตามความเหมาะสม

 

 

ขอบคุณ ไทยรัฐ/ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว