Long COVID ทำน้องชายหดเล็กลงจริงหรือไม่?

ปัญหา Long COVID ที่ส่งผลเสียกับร่างกายอย่างหนึ่งที่ทำให้หนุ่มๆ หนาวๆ ร้อนๆ เพราะ น้องชายยังมีโอกาสสั้นอีก วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่าจริงหรือไม่

 

 

การติดเชื้อ Covid-19 (โควิด 19) นับว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะหลังจากรักษาอาการจนเป็นปกติแล้ว หลายคนอาจรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี โดยเฉพาะความผิดปกติของปอดและหัวใจที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนก่อน แถมล่าสุดยังมีประเด็นที่ทำเอาผู้ชายถึงกับสะดุ้ง จากกรณีพบผู้ป่วยชายบางรายที่รักษาตัวจากโควิด 19 จนหายดีแล้ว แต่สังเกตว่าอวัยวะเพศหด ทำให้เกิดความสงสัยว่านี่เป็นอาการข้างเคียงของ Long COVID (ลองโควิด) หรือไม่ และเมื่อน้องชายเล็กลงแบบนี้จะสามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ไหม มาหาคำตอบกัน 

 

โควิด 19 ทำให้อวัยวะเพศสั้นลงได้อย่างไร

สำหรับเหตุผลที่ชี้ว่า โควิด 19 อาจทำให้อวัยวะเพศหดสั้นลงในบางรายจนเกิดปัญหาได้นั้น มีงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร World Journal of Men’s Health โดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะอธิบายว่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ

  • โควิด 19 ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดบริเวณอวัยวะเพศ พอเลือดไปเลี้ยงน้อยลงจึงทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวไม่เต็มที่หรือยืดตัวไม่สุด จึงดูสั้นลงจนสังเกตได้
  • เชื้อโควิด 19 เข้าสู่เซลล์บุผนังหลอดเลือดของอวัยวะเพศชาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่องคชาตได้อย่างจำกัด จนนำไปสู่การเกิดรอยแผลเป็นที่อวัยวะเพศ เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และขนาดของน้องชายหดสั้นลงได้

 

อวัยวะเพศหด หลังติดเชื้อโควิด 19 จะหายเป็นปกติหรือไม่

ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือเสื่อมสมรรถภาพจากผลกระทบของโควิด 19 ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ามีโอกาสรักษาให้หายได้ ด้วยวิธีการทางการแพทย์ ร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี น้องชายที่สั้นลงอาจเป็นเรื่องถาวรและทำให้กลับมายาวเหมือนเดิมได้ยาก เพราะฉะนั้นต้องทำใจนะหนุ่ม ๆ

 

covid-19

 

 

ข้อแนะนำในการรักษา

  • พบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาวิธีการรักษาต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เลือดมาหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศมากขึ้น เช่น การยืดอวัยวะเพศชายโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทางการแพทย์ การให้ยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ การทำ Shockwave กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่เพิ่มขึ้นในอวัยวะเพศ หรือการผ่าตัดใส่แกนเพิ่มความยาว เป็นต้น
  • การออกกำลังกายก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงได้ดีขึ้น โดยอาจเริ่มต้นจากการเดิน การวิ่งเหยาะ ๆ เพื่อลดอาการภาวะ Long COVID และฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา ถั่วชนิดต่าง ๆ เพื่อซ่อมแซมและสร้างเสริมเนื้อเยื่อเซลล์ต่าง ๆ ที่ถูกทำลาย
  • หมั่นสังเกตร่างกายตัวเองอยู่เสมอหลังจากหายป่วย หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจประเมิน รับการรักษา และวางแผนฟื้นฟูร่างกายอย่างเหมาะสม

         

ใครจะไปนึกว่าอาการข้างเคียงจากไวรัสโควิด 19 จะลุกลามมาถึงอวัยวะเพศได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วทางที่ดีควรป้องกันไม่ให้ตัวเองติดเชื้อและดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอจะถือว่าปลอดภัยที่สุดครับ

 

 

ขอบคุณผู้สนับสนุนข้อมูลดีๆ จาก ALLSUREWIN

สนใจเข้ามาผ่อนคลายกับหลากหลายเกมส์มากมายให้เลือกเล่น ได้ที่ @ALLSUREWIN

เล่นที่นี่มีแต่วิน ต้องวินชัวร์ แอด @winsure

ใครปิด เราไม่ปิด สนใจเสี่ยงดวงติดต่อเราได้ที่ไลน์ @asw888 ตลอด 24 ชม.


เกมดี เกมมัน มากกว่า 1,000 เกม @gamewin


แค่คิดถึงเรา เงินก็อยู่ในบัญชี @asw168