Power Bank เลือกซื้อยังไง

Power Bank หรืแแบตเตอรี่สำรอง ควรเลือกซื้ออย่างไร ที่เหมาะสม คุ้มค่า และอยู่กับเราไปนานๆ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการเลือก Power Bank มาฝาก และยังแถม Power Bank น่าใช้ปี 2021 อีกด้วยน๊า

 

ธนาคารอำนาจ, คิดค่าใช้จ่าย, แบตเตอรี่, สายเคเบิล

 

Power Bank เลือกยังไง ต้องดูอะไรบ้าง ?

          – ความจุของตัวแบตเตอรี่ อย่างน้อยควรจะเลือกให้ใหญ่กว่าขนาดของแบตเตอรี่ในมือถือ หรือเลือกที่ใหญ่กว่าประมาณ 2 เท่า แต่โดยส่วนใหญ่ที่ขายกันในตลาดมักจะมีขนาดหลักหมื่น mAh อยู่แล้ว
          – ค่าแอมป์ Power Bank ควรจะรองรับค่าแอมป์ในการชาร์จไม่ต่ำกว่าค่าแอมป์ของมือถือ เช่น ถ้ามือถือใช้ 2.1A ตัว Power Bank ก็ควรจะเป็น 2.1A ขึ้นไปด้วย เพราะถ้าแอมป์ต่ำกว่าจะทำให้ชาร์จได้ช้ากว่าปกติ
          – พอร์ต ขึ้นอยู่กับว่าต้องการชาร์จด้วยพอร์ตอะไรบ้าง ต้องการชาร์จกี่อุปกรณ์พร้อมกันบ้าง ก็ให้เลือก Power Bank ที่มีพอร์ตเพียงพอต่อการใช้งาน
          – แบรนด์ ควรเลือกแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพดี ผลิตได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยในการใช้งานและไม่ทำให้อุปกรณ์มือถือเสียหาย

 

power bank

 

การใช้งาน Power Bank อย่างถูกต้องเพื่อยืดอายุการใช้งาน

          – ไม่ควรปล่อยให้แบตเตอรี่ใน Power Bank เหลือต่ำกว่า 40% นาน ๆ เพราะจะทำให้ให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วขึ้น
          – ไม่ควรเก็บ Power Bank ไว้ในที่อุณหภูมิสูงเกินไป ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่วางตากแดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่กำลังชาร์จอยู่
          – หลีกเลี่ยงการชาร์จ Power Bank กับมือถือไปพร้อม ๆ กับการชาร์จไฟเข้า Power Bank ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้ Power Bank เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
          – เลือกใช้สายชาร์จที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และถ้าเป็นไปได้ควรใช้สายยิ่งสั้นยิ่งดี

 

Power Bank น่าซื้อปี 2021

1. Eloop E45 20000mAh

power bank

 

แบตเตอรี่สำรองขนาด 20000mAh ดีไซน์สวยด้วยวัตถุที่แข็งแรงคงทน หุ้มด้วยผ้า Fabric กันรอยและกันมือถือลื่น รองรับ QuickCharge 2.0 / 3.0 และ PD (Power Delivery) ของอุปกรณ์ Apple มีช่อง USB-C 1 ช่อง และ USB-A 2 ช่อง รองรับสูงสุด 4A

ราคาประมาณ 1,000 บาท

 

2. Remax W1501 15000mAh

power bank

 

Power Bank ขนาดความจุแบตเตอรี่ 15000mAh รองรับ QuickCharge 3.0 และ PD (Power Delivery) ของอุปกรณ์ Apple มาพร้อมพอร์ต USB-A และ USB-C ดีไซน์ตัว Power Bank เป็นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส กะทัดรัด พกพาสะดวก มีให้เลือกสีดำและสีขาว

ราคาประมาณ 900 บาท

 

3. Yoobao Polymer PowerBank P2PD 25000mAh

power bank

 

Power Bank จากแบรนด์ Yoobao รุ่น P2PD ขนาดความจุไฟ 25000mAh มีดีไซน์สวยแบบเรียบ ๆ มีความบางเบา พกพาสะดวก พร้อม Input 3 ช่อง ทั้ง Micro USB, Lightning และ USB-C และ Output อีก 3 ช่อง คือ USB-C (12V/1.5A) และ USB-A (5V/3A) กับ USB-A (9V/2A)

ราคาประมาณ 1,500 บาท

 

 

4. AUKEY USB-C Power Bank PB-XN10 10000 mAh

power bank

 

แบตเตอรี่สำรองความจุ 10000mAh ดีไซน์บางเฉียบ ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก รองรับ AiPower Adaptive FastCharge จ่ายไฟสูงสุด 5V/2.4A พร้อมพอร์ต USB-C สามารถชาร์จเร็วสูงสุด 15W หรือ 5V/3A และพอร์ต microUSB รองรับสายชาร์จรุ่นเก่าได้ จ่ายไฟได้สูงถึง 2.4 แอมป์

ราคาประมาณ 850 บาท

 

5. Xiaomi Mi Power Bank 3 Pro 20000mAh

power bank

 

แบตเตอรี่สำรองความจุ 20000mAh จากแบรนด์ Xiaomi มาพร้อมพอร์ต USB-C รองรับกำลังไฟสูงสุด 45W แบบ Two-way charging และ USB-A อีก 2 ช่อง รองรับสูงสุด 5V/3A สามารถใช้ชาร์จโน้ตบุ๊กได้ด้วย ตัว Power Bank มีดีไซน์แบบสีดำเรียบทันสมัย

ราคาประมาณ 1,700 บาท

          

 

อย่างไรก็ตาม ราคาที่ระบุไว้เป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น ซึ่งอาจมีราคาแตกต่างกันไปในแต่ละร้านที่จำหน่าย

 

 

 

 

ขอบคุณข้อ kapook.com/มูลจาก gadgetsnow.compowerbankguide.comairportthai.co.th