ปิดคดีเอ็กซ์ จักรกฤษณ์

ตัดสินแล้ว คดีเอ็กซ์ จักรกฤษณ์ ยกฟ้อง พญ.นิธิวดี ส่วนนางสาวสุรางค์ นางสาวสุรางค์ ศาลฎีกาเห็นว่า กระทำผิดเพราะลูกสาวถูกทำร้าย ต้องตกอยู่ในความทุกข์ จึงบรรเทาโทษจากจำคุกตลอดชีวิต เหลือจำคุก 25 ปี และร่วมชดใช้เงิน 2.5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ผู้ต้องหาอีก 3 คน ได้แก่ มือปืนกับคนขี่รถจักรยานยนต์ ศาลพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต ส่วนนายสันติ ทองเสม หรือ อี๊ด ทนายความ ศาลพิพากษายืนให้ประหารชีวิต

 

ศาลมีนบุรีพิพากษาประหารชีวิต “หมอนิ่ม-ทนาย” สั่งฆ่า “เอ็กซ์ จักรกฤษณ์”  มือปืนทีมชาติ - ข่าวสด

 

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 เพจ “สื่อศาล” ซึ่งเป็นเพจประชาสัมพันธ์ข่าวของศาลยุติธรรม ได้เผยแพร่บทสรุป คำพิพากษาศาลฎีกา คดีฆ่า เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย ตัวอย่างคดีศึกษาเหตุพิจารณาบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งศาลอาญามีนบุรี ถ.สีหบุรานุกิจ อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ไปตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.64 ที่ผ่านมา

 

แพทยสภายังไม่ยึดใบวิชาชีพแพทย์ “หมอนิ่ม” ชี้ต้องรอคดีสิ้นสุด ค่อยปลดออกจากสมาชิก

 

โดยศาลอาญามีนบุรี ถ.สีหบุรานุกิจ ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีความผิดต่อชีวิต จ้างวานฆ่า เอ็กซ์ จักกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม อายุ 40 ปี อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติ หมายเลขดำ อ.383/57 ที่อัยการศาลจังหวัดมีนบุรี และ นายมานพ พณิชย์ผาติกรรม อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติ บิดา เป็นโจทก์ร่วมฟ้อง นายจีรศักดิ์ หรือ จี กลิ่นคล้าย อายุ 50 ปี มือปืนผู้ลั่นกระสุน ที่ 1,

 

น.ส.สุรางค์ ดวงจินดา อายุ 79 ปี มารดา พญ.นิธิวดี ที่ 2, พญ.นิธิวดี หรือ หมอนิ่ม ภู่เจริญยศ อายุ 45 ปี ที่ 3, นายสันติ หรือ อิ๊ด ทองเสม อายุ 35 ปี ทนายความที่ 4 และ นายธวัชชัย หรือ อ้น เพชรโชติ อายุ 38 ปี คนขับรถจักรยานยนต์ ร่วมกันเป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นฯ, จ้างวานฆ่าผู้อื่นฯ พ.ร.บ.อาวุธปืน ขณะที่ นางบุญคิด พณิชย์ผาติกรรม มารดา เอ็กซ์ จักกฤษณ์ ได้ยื่นคำร้องขอให้พวกจำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 4.4 ล้านบาทด้วย

 

โดยโจทก์ระบุฟ้องความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างเดือน ส.ค.-19 ต.ค.2556 จำเลยที่ 2-4 ร่วมกันจ้างวานให้ จำเลย 1 กับพวกที่หลบหนี ใชัอาวุธปืนยี่ห้อลูเกอร์ รุ่นโตโกเรฟ ขนาด 7.62 มม. ฆ่านายจักรกฤษณ์ตามร่างกายหลายนัด ขณะอยู่บนรถยนต์หรู ยี่ห้อปอร์เช่ สีดำ จนถึงแก่ความตาย บริเวณหน้าวัดบางเพ็งใต้ ถ.สุขาภิบาล3 ถ.สุขาภิบาล3 (รามคำแหง) แขวง-เขตมีนบุรี กทม. ก่อนพากันหลบหนีไป ชั้นสอบสวนและชั้นศาล พญ.นิธิวดี น.ส.สุรางค์ มารดา และ นายสันติ ทนายความ ให้การปฏิเสธ

 

ต่อมาวันที่ 19 ธ.ค.2559 ศาลจังหวัดมีนบุรี (ขณะนั้น) ได้อ่านคำพิพากษาให้ประหารชีวิตสถานเดียวพญ.นิธิวดี หรือ หมอนิ่ม จำเลยที่ 3 และ นายสันติ หรือ ทนายอี๊ด จำเลยที่ 4 ฐานร่วมกันใช้จ้างวานฆ่าผู้อื่น ขณะที่จำเลยที่ 1 และ 5 มือปืน และคนขับจักรยานยนต์ให้จำคุกตลอดชีวิต ส่วน น.ส.สุรางค์ มารดา หมอนิ่ม พิพากษายกฟ้อง และให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3-5 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2.5 ล้านบาทแก่ผู้ร้องด้วย

 

ต่อมาศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งให้พญ.นิธิวดี ประกันตัว 2.5 ล้านบาทระหว่างอุทธรณ์ โจทก์และจำเลยต่างยื่นอุทธรณ์

ต่อมาวันที่ 7 ส.ค.2561 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้ให้ยกฟ้อง พญ.นิธิวดี จำเลยที่ 3 แต่ให้ลงโทษประหารชีวิต น.ส.สุรางค์ มารดา ฐานใช้จ้างวานให้ฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 2 เนื่องจากศาลเห็นว่า น.ส.สุรางค์ ยังโกรธแค้นที่ผู้ตาย ที่มักทำร้ายร่างกาย พญ.นิธิวดี ซึ่งเป็นบุตรสาวคนเดียว และทำร้ายหลานสาวได้รับบาดเจ็บหลายครั้งหลายหน และเชื่อว่า ผู้ตายไม่สามารถแก้ไขพฤติกรรมได้

 

ทั้งนี้ คำให้การของน.ส.สุรางค์ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาบ้างลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุกตลอดชีวิต ส่วนพญ.นิธิวดี ศาลเห็นว่า ยังมีความรักใคร่ผู้ตาย โดยระหว่างที่เกิดเรื่องก็ยังเคยมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งเคยพาบุตรสาวไปเยี่ยมที่เรือนจำทหาร และไม่คัดค้านการประกันตัวผู้ตายของศาลทหารที่ทำร้ายร่างกายหมอนิ่มคดีเสพยาเสพติดด้วย

 

และให้จำเลยที่ 1, 2, 4, และ 5 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 2.5 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีให้กับโจทก์ร่วมและผู้ร้องด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาศาลอนุญาตให้น.ส.สุรางค์ จำเลยที่ 2 ปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกา โดยตีราคาประประกัน 1 ล้านบาท

 

อัยการโจทก์ โจทก์ร่วม และนายจิรศักดิ์ หรือ จี มือปืนจำเลยที่ 1 และ น.ส.สุรางค์ จำเลยที่ 2 ยื่นฎีกา ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษา หารือแล้ว เห็นว่า ฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ต่อสู้ในประเด็นการร่วมจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2.5 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จให้กับโจทก์ร่วมและผู้ร้องนั้น ฟังไม่ขึ้น

 

ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมชดใช้ตามจำนวนดังกล่าวนั้นชอบด้วยเหตุผลแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย และฎีกาข้ออื่นที่ต่อสู้ประเด็นการรับฟังคำให้การพยานที่มาลงโทษจำเลย ก็ฟังไม่ขึ้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพฤติการณ์การกระทำผิดของน.ส.สุรางค์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแม่ยายผู้ตาย ศาลฎีกาเห็นว่าเกิดจากการที่ผู้ตายกระทำต่อพญ.นิธิวดี จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรคนเดียวของจำเลยที่ 2 ครั้งแล้วครั้งเล่า และบางครั้งยังกระทำต่อหน้าหลานเล็ก ๆ ของจำเลยที่ 2 อีกอันเนื่องมาจากปัญหาการควบคุมอารมณ์ของผู้ตาย

 

โดยก่อนเกิดเหตุมีความไม่แน่นอนว่า ผู้ตายซึ่งเป็นนักกีฬายิงปืน มีอาวุธปืนอาจใช้อาวุธปืนของตนกระทำต่อจำเลยที่ 3 และครอบครัวในขณะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ก็เป็นได้ เพราะก่อนเกิดเหตุเพียง 2 เดือน ผู้ตายยังใช้อาวุธปืนยิงไปทางคนรับใช้และบุตรคนเล็กจนผู้ตายถูกจับและถูกควบคุมตัวที่เรือนจำและเพิ่งได้รับการประกันตัวมาไม่นาน

 

การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ที่ขณะเกิดเหตุเป็นหญิงมีอายุถึง 72 ปี และบัดนี้มีอายุเกือบ 80 ปีแล้ว และไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงเข้าลักษณะของผู้กระทำความผิดที่ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ที่ศาลอาจลดโทษได้ให้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง และตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 ในการลดโทษประหารชีวิตไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้ลดดังต่อไปนี้

 

โดยถ้าจะลดกึ่งหนึ่งให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปีถึง 50 ปีที่ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้น.ส.สุรางค์ จำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งในสามและคงจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิตด้วยเหตุเพียงคำให้การชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลฎีกายังไม่เห็นพ้องด้วย เห็นควรลดโทษให้จำเลยที่ 2 อีก

 

ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้เป็นว่า คำให้การชั้นสอบสวนของน.ส.สุรางค์ จำเลยที่ 2 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา และกระทำความผิดเพราะตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงลงโทษจำคุกไว้ จำเลยที่ ไว้ 25 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 

 

 

ขอบคุณ ข่าวสด/